"ทำไมต้องเอาช้างมาทรมาน"
"การกระทำเช่นนี้
มิได้ต่างไปจากขอทานเลย"
"ทำให้การจราจรติดขัด
เสียเวล่ำเวลาคนอื่น"
...ฯลฯ...
|
คำถามและประโยคต่างๆ
เหล่านี้อาจจะออกมาจากปากของเรา
ท่านๆ ก็ได้
หากได้คนกลุ่มหนึ่งนำพาช้างเชือกใหญ่และเล็ก
ตระเวณอยู่ใจกลางเมืองกรุง
แทนที่จะให้มันอยู่ตามธรรมชาติของพวกมันในผืนป่าใหญ่
อย่างที่มันควรจะ
อยู่อย่างปกติสุข
|
"ลอดท้องช้างไหมครับ
ลอดแล้วจะมีโชค"
"ซื้ออาหารให้ช้างไหมครับ
๑๐-๒๐ บาทเอง"
เสียงตะโกนปาวๆ
เป็นการเชิญชวนให้ผู้คนที่อยู่ตามเส้นทางที่พวกเขาและช้าง
เพื่อนยากได้ตระเวณผ่าน
โดยเฉพาะกรุงเทพ
เพราะตามความเชื่อของคนโบราณ
นั้น การได้ลอดท้องช้างถือเป็นมงคลยิ่งแก่ชีวิต
การนำช้างออกตระเวนไปเรื่อยๆ
อย่างไร้จุดหมาย
เพียงเพื่อแลกกับเงินตราในการ
การลอดท้องช้างแต่ละครั้ง
อาจจะดูเหมือนเล็กน้อยในสายตาของบางคน
แต่สำหรับ
พวกเขาแล้วมันอาจหมายถึงความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของครอบครัวก็เป็นได้
นั่นเป็นเหตุให้พวกเขาถูกมองจากคนในสังคมเมืองว่า "เป็นการนำช้างมาทรมาน"
และที่หนักไปกว่านั้นคือ
พวกเขาถูกหาว่า "เป็นการขอทานในอีกรูปแบบหนึ่ง"
|
|
แต่ถ้าหากเรา-ท่าน
ได้เข้าไปสัมผัสกับ
ชีวิตของพวกเขาเหล่านั้นแล้ว
คำถามหรือ
ข้อสงสัยต่างๆ อาจจะกระจ่าง
และเกิด
ความเห็นอกเห็นใจคนเลี้ยงช้างกลุ่มนี้
ขึ้นมาก็เป็นได้จากเส้นทางอันยาวไกล
สู่มหานครของไทย
ที่ "ชาวกูย" (กวย, ส่วย
แต่พวกเรามักจะเรียก
ตัวเองว่า "กูย" หรือ "กวย"
ซึ่งแปลว่า "คน")
|
|
|
จากลุ่มน้ำมูล
แห่งบ้านตากลาง ตำบลกระโพ
อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
ต้องรอน
แรมพาช้างเพื่อนยากด้วยหวังว่าจะหารายได้เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องพวกเขารวมถึง
ครอบครัวที่รอคอยด้วยความหวังอยู่ที่บ้านด้วยเช่นกัน |
นี่คือเป้าหมายสำคัญ...ที่น้อยคนนักจะเข้าใจ
"ถ้าอยู่ที่บ้านก็คงจะตายกันหมด
ทั้งคนทั้งช้างนั่นแหละครับ"
คนเลี้ยงช้างตอบผม
ในระหว่างการสนทนาภาษาเดียวกัน
ที่พักชั่วคราวริมถนนรัชดาภิเษก...
"ทุกวันนี้
มันไม่ป่าจะให้ช้างอยู่
ให้ช้างกินแล้ว
สู้มาหาเงินในกรุงเทพดีกว่า
ยังพอได้
เงินซื้อกล้วย
ซื้ออ้อยให้มันกินบ้าง"
หลังสิ้นคำตอบเขาทอดสายตามองไปที่เจ้าเพื่อน
ยาก
แววตาสะท้อนถึงความขมขื่นที่ได้รับ
ทั้งจากคนสุรินทร์ด้วยกันเองและคนเมือง
ที่ไม่ยอมที่จะเข้าพวกเขา...สำนึกของชาติพันธุ์เดียวกัน
ทำให้ผมเจ็บลึกในหัวอก
"ป่าที่เคยมีนั่นนะหรือ
เขาก็ตัดทิ้ง
ปลูกยูคาลิปตัสกันหมด
ช้างมันกินไม่ได้ ถ้าเข้า
ไปเขาก็จับเอา
หาว่าบุกรุกป่าของเขา"
|
พวกเขาไม่มีทางเลือกอื่น
แม้รู้ว่าการนำพา
ช้างเพื่อนยากเข้ามาเมืองหลวง
มันไม่ใช่
เรื่องที่ถูกต้อง
เพราะไหนจะต้องหาทำเลที่
เหมาะสมสำหรับช้างและคนได้พักอาศัย
ขณะที่ต้องเผชิญกับมลพิษอย่างหลีกเลี่ยง
ไม่ได้ นอกจากนั้น
ยังเป็นการสร้างปัญหา
จราจรให้กับคนเมืองอีกด้วย
...แต่ใช่ว่าพวกเขาอยากให้เป็นเช่นนั้น... |
|
|
รายได้ที่พวกเขารอนแรมมากับช้างเพื่อนยากนั้น
หากหักค่า
ใช้จ่ายทั้งหลายทั้งปวงแล้ว
ก็พอที่จะส่งเสียให้เมียได้ใช้
ให้ลูก
ได้ศึกษาเล่าเรียน ที่สำคัญคือ
ได้ซื้ออาหารให้ช้างกิน ประการ
หลังสุดนี้ ไม่ใช่เงินน้อยๆ
แต่อาจถึงครึ่งหนึ่งของรายได้แตะละ
วันด้วยซ้ำ ...เราน่าจะรู้ดีว่า
ช้างกินมากเพียงไหนในแต่ละวัน""นู้นพวกเขานอนห้องแอร์
จะไปรู้อะไรกับพวกผม ให้วันละ
๑,๕๐๐ บาท สองวัน ๓,๕๐๐
บางทีผมต้องเสียค่ารถเหมาจากใต้ |
|
มาตั้งหลายพัน
มันไม่คุ้มหรอก
แต่สัญญาลูกผู้ชายมันก็ต้องทำ" เขาหมายถึงรายได้
จากการแสดงช้างในแต่ละปี
ซึ่งทางจังหวัดมอบให้กับกลุ่มคนที่สร้างชื่อให้กับจังหวัด
สุรินทร์
"เรื่องเข้าร่วมแสดงงานช้าง
เจ้าหน้าที่เขาก็จะมาดูก่อนวันแสดงช้างไม่กี่วันเท่านั้น
แหละ คือว่าดูว่า
มีช้างเยอะพอที่จะแสดงได้ไหม
นอกจากนั้นอย่าไปหวัง..."
|
หลังเสร็จสิ้นภารกิจการแสดงงานช้าง
ประจำปีของจังหวัดสุรินทร์ในเดือน
พฤศจิกายนบรรดาชาวกูยเลี้ยงช้าง
กลุ่มนี้แทบจะถูกลืมไปจากชาวสุรินทร์
เลยก็ว่าได้ทั้งๆที่รายได้จากการจัด
งานช้างประจำปีนั้นเป็นจำนวนเงิน
...ไม่น้อย... |
|
|
|
กว่า
3
ทศวรรษที่ชาวกูยและช้างเหล่านี้
ได้มอบหลายๆ สิ่ง หลายๆ อย่างให้
กับเมืองสุรินทร์
แต่สำหรับวิถีชีวิตของพวกเขาแล้วกลับมืดมนอย่างน่าใจหายหาก "เชียงปุม"
หรือพระยาสุรินทรภักดี
เจ้าเมืองคนแรกของสุรินทร์
ซึ่งเป็น
ชาวกูยเช่นกัน
ได้รับรู้ถึงปัญหาต่างๆ
เหล่านี้
...ท่านคงจะเสียใจไม่น้อย
ที่ลูกหลานของท่านถูกทอดทิ้ง
ถูกลืม ถูกดูถูก
เหยียดหยาม
อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน... |
|
|
อดีตที่เกรียงไกรของ
ชาวกูย
กำลังถูกลบเลือนไปพร้อมๆ
กับความเจริญของสังคมเมือง
ในฐานะที่ผมเองเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของชาวกูยเช่นกัน
ผมขอใช้สิทธิที่จะเรียกร้องขอ
ความเป็นธรรมให้กับพี่น้องของผมกับคนเมืองบ้าง... |
"ฉูยมอไฮนังเด้อ
เชียงปุม"
|
ลงพิมพ์ครั้งแรกใน
"ภาพหน้ากลาง"
หนังสือพิมพ์เนชั่นสุดสัปดาห์ .
๓-๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
ปรับปรุงเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม
๒๕๔๓ |