"หนังสือน่าอ่านอย่างยิ่งสำหรับนักการศึกษา
และนิสิต นักศึกษา ในปัจจุบัน "
มองอเมริกา มาแก้ปัญหาไทย
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)
ISBN 974-7891-17-4
พิมพ์ครั้งที่ ๙ (๒๕๔๑)
สำนักพิมพ์ :
มูลนิธิพุทธธรรม ๘๗-๑๒๖ ถ.เทศบาลสงเคราะห์
แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐
โทร.๐๒-๕๘๙-๙๐๑๒, ๕๘๐๒๗๑๙
โทรสาร.๐๒-๙๕๔๔๗๙๑
ราคา ๖๐ บาท
ในที่สุด ผมก็ตามหาแหล่งหนังสือ
"มองอเมริกา มาแก้ปัญหาไทย"
เพื่อที่จะประชาสัมพันธ์ให้ท่านที่สนใจซื้อหามาอ่านได้แล้ว
ถึงแม้ว่าจะเป็นการบรรยายธรรมเมื่อปี ๒๕๒๕ หรือเมื่อกว่า ๒๒
ปีมาแล้ว แต่ใจความและเหตุการณ์ต่างๆ ที่กล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้
กลับเป็นปัจจุบันและเป็นจริงมากขึ้น
ในฐานะพุทธศาสนิกชน
และคนที่ห่วงใยประเทศชาติ
ผมใคร่ขออนุญาตแนะนำให้ท่านที่ห่วงใยสังคมไทยและมีจิตสำนึกในการแก้ปัญหาของประเทศชาติ
ได้หาหนังสือเล่มนี้มาอ่านครับ
ส่วนหนึ่งจากปกหลังด้านในมาให้ท่านได้อ่านพอสังเขปนะครับ
...เรามีจิตสำนึกทางสังคม
ได้แก่จิตสำนึกในการที่จะต้องแก้ปัญหาของประเทศชาติ
ในการที่จะต้องทำให้เจริญก้าวหน้าทันตะวันตก
แล้วจะรักษาประเทศของตนไว้ได้
แต่อาตมาคิดว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายที่จิตสำนึกนี้อยู่ในวงจำกัด
และจิตสำนึกนี้ยังไม่ทันแพร่หลายไปถึงมวลชนโดยทั่วไปก็จางหายก่อน
จิตสำนึกในการที่จะแก้ปัญหาของตน
หรือในการที่จะทำประเทศของเราให้ทันเขามันจางไป
แต่สิ่งที่เราเรียกว่าการพัฒนาประเทศเทศนี้ยังคงดำเนินต่อมา
และก็เป็นการพัฒนาที่เรียกว่าเอาจริงเอาจังต่อเนื่อง
แต่ในเวลาเดียวกัน ถ้ามองอีกด้านหนึ่ง
อาจจะมีผู้กล่าวในแง่ร้ายได้ว่า
ตอนหลังนี้เป็นการรับมากกว่าการพัฒนา คือเป็นแต่เพียงการรับเอามา
ไม่ได้พัฒนาตัว (ดังที่กลายเป็นการทำให้ทันสมัยแต่ไม่พัฒนา)
แต่สิ่งที่น่าสังเกตก็คือว่า เมื่อขาดจิตสำนึกทางสังคม
แรงจูงใจอะไรจะเหลืออยู่ในการที่จะพัฒนาประเทศ
...ในเมื่อจิตสำนึกนั้นมันอยู่ในวงจำกัดและจางหายไปแล้ว
มันก็มีเพียงความต้องการที่จะเสพเสวยความเจริญ
หรือความตื่นเต้นใหม่ๆ แบบตะวันตก
...เมื่อเรารับระบบตะวันตกด้วยความรู้สึกที่ต้องการมี
ต้องการให้มีความเจริญ มีสิ่งหรูหราฟุ่มเฟือย
มีความสะดวกสบายเท่านั้น
จิตสำนึกทางสังคมในการแก้ปัญหาที่แท้ก็ไม่มี
แม้ว่าเราจะพูดกันถึงปัญหา
แต่มันไม่ได้เข้าถึงจิตสำนึกดังที่กล่าวมาแล้ว
พูดได้ว่าที่แท้จริงแล้ว
เมื่อจิตสำนึกในการการแก้ปัญหาของประเทศจางหายไปแล้ว
แรงจูงใจในการพัฒนาประเทศก็หมดไปด้วย ไม่มีเหลือ
ก็จะมีแรงจูงใจที่อยากเสพเสวยสิ่งตื่นเต้น ฟุ้งเฟ้อ หรูหรา
ที่เรียกกันว่าความเจริญ
มีแต่ความอยากที่จะรับเอาและเลียนตามเขาไป
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) |
ไอที ภายใต้วัฒนธรรมแห่งปัญญา
(ศาสนากับยุคโลกาภิวัตน์)
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)
ISBN 974-7890-82-8
พิมพ์ครั้งที่ ๗ (๒๕๔๐)
สำนักพิมพ์ :
มูลนิธิพุทธธรรม ๘๗-๑๒๖ ถ.เทศบาลสงเคราะห์
แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐
โทร.๐๒-๕๘๙-๙๐๑๒, ๕๘๐๒๗๑๙
โทรสาร.๐๒-๙๕๔๔๗๙๑
ราคา ๓๐ บาท
...เมื่อมนุษย์ยิ่งมีความมักง่าย ยิ่งอ่อนแอ
มนุษย์ก็จะยิ่งเจอทุกข์หนักขึ้น เพราะภูมิต้านทานความทุกข์น้อยลง
เจออะไรยากหรือต้องทำนิดหน่อยก็เป็นทุกข์ไปหมด...
...ในขณะที่เทคโนโลยีทำให้คนอ่อนแอลงนั้น
สังคมปัจจุบันนี้โลกมนุษย์ยิ่งมีความซับซ้อน
วิถีชีวิตมีปัญหาที่ต้องเผชิญเพิ่มขึ้น
ฉะนั้นคนที่อ่อนแอก็จะเป็นคนที่มีความทุกข์มากมายเหลือเกิน
ตรงข้ามกับการพัฒนาที่ถูกต้อง เมื่อพัฒนาให้คนมีความเข้มแข็ง
สู้งาน สู้สิ่งยาก เขาจะได้ความสุขจากความยากด้วย
อันนี้เป็นสิ่งที่เราอาจไม่คาดคิดสิ่งง่ายนั้นไม่ต้องพูดเพราะสบายอยู่แล้ว
แต่สิ่งยากทำให้คนเกิดความสุขได้อย่างไร...
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) |
สถานที่จัดจำหน่าย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์
กรุงเทพฯ ๑๐๑๒๐
โทร. ๐-๒๒๒๖-๖๐๒๗, โทรสาร ๐-๒๒๒๖-๖๐๒๘
อนึ่ง การแนะนำหนังสือทั้ง ๒ เล่มนี้
เป็นความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าเอง ขอให้ท่านใช้
วิจารณญาณในการตัดสินใจเองนะครับ
ด้วยจิตคารวะ
กระดานดำออนไลน์ |