"เจ้าราม"
เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมีพระชนมายุได้
๑๙ พรรษา
ได้เสด็จตามพระบิดาไปรบกับขุนสามชน
เจ้าเมืองฉอด (อยู่ที่กิ่งแม่ระมาด
อำเภอแม่สอนปัจจุบัน)
เมื่อพระบิดาเสียทีขุนสามชน
พ่อขุนรามได้แก้ไว้
และชนช้างชนะขุนสามชน
พระบิดาจึงถวายพระนามว่า
"รามคำแหง"
จึงทรงสันนิษฐานว่าเดิมคงชื่อ
"เจ้าราม"
แต่ปรากฏในหลักศิลาจารึกแน่นอนว่า
พระนามรามคำแหงนั้น
เป็นนามที่ได้รับพระราชทานจาก
บิดา
เมื่อคราวชนช้างชนะขุนสามชน
หาใช่พระนามเดิมไม่
พ่อขุนรามคำแหงเป็น
"มหาราช"
องค์แรกของชาวไทย
ในฐานะที่ทรงเป็นอัจฉริยกษัตริย์
ทรงชำนาญทั้ง
การปกครองและการศาสนา
ทรงขยายอาณาจักรสุโขทัยออกไปอย่างกว้างขวางด้วยวิเทโสบายอันแยบคาย
และทรงปกครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขได้รับความยุติธรรมทั่วหน้ากัน
พระราชกรณียกิจทางด้านนวกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
ได้แก่
การประดิษฐ์อักษรไทย
เพราะตัวอักษรเป็นสิ่งสำคัญในการถ่ายทอดและส่งเสริมวิวัฒนาการความรู้
ต่างๆ
หากไม่มีตัวอักษรบันทึกไว้
วิทยาการต่างๆ
ย่อมสูญหายได้ง่าย
นอกจากนี้
การจัดการศึกษา ณ
พระแท่นมนังคศิลา
ของพระองค์
ยิ่งจัดได้ว่าเป็นการเริ่มต้นของการศึกษาผู้ใหญ่ของไทยอีกด้วย
จากพระราชกรณียกิจดังกล่าวข้างต้น
จึงกล่าวได้ว่า
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ทรงเป็นนักนวกรรมและ
เทคโนโลยีการศึกษาที่สำคัญของไทยพระองค์หนึ่ง
ที่มา
:
เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา
"เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา"
หน่วยที่ ๙-๑๕
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,
๒๕๓๖
ปรีชา พงศ์ภมร, "พระราชประวัติ
๔๕ กษัตริย์ไทย และ
พระบรมราชินีทุกรัชกาล"
, ๒๕๑๖ |