สมัยอยุธยาตอนปลาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
(พ.ศ.๒๑๙๙-๒๒๓๑)
เป็นยุคที่มีนักปราชญ์
ราชบัณฑิตและกวีมากมาย
นับตั้งแต่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชไปจนถึงสามัญชนคนธรรมดา
ในยุคนี้
มีวรรณคดีที่สำคัญหลายเรื่อง
อาทิ สมุทรโฆษคำฉันท์
เสือโคคำฉันท์
อนิรุทธิ์คำฉันท์
โคลงเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระนารายณ์
กำสรวลศรีปราชญ์ ฯลฯ
ถือได้ว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณคดี
ทำให้คนในยุคนั้นสนใจที่จะเรียนรู้หนังสือ
จึงได้มีการเรียนการสอนในวัดและสำนักราชบัณฑิต
นอกจากนี้
ยังนิยมเรียนในโรงเรียนของหมอสอนศาสนาหรือคณะมิชชันนารี
ซึ่งต้องเรียนศาสนาควบคู่กันไป
สมเด็จพระนารายณ์
ทรงเกรงว่าคนไทยจะถูกชักชวนให้เข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ตามแบบฝรั่ง
จึงทรง
โปรดให้พระโหราธิบดีแต่งหนังสือชื่อ
"จินดามณี"
ขึ้นเพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ภาษาไทยและวิทยาการต่างๆ
จะได้ไม่ไปฝักใฝ่ฝรั่งต่างชาติ
และเรียนรู้เรื่องราวของไทยมากขึ้น
จินดามณี
มีความหมายว่า ผู้เรียนรู้หนังสือเล่มนี้
มีความรู้ภาษาไทยซึ่งเปรียบเสมือนกับว่ามีแก้วสารพัดนึก
ที่มีค่าควรเมือง
ในหนังสือจินดามณีเขียนว่า
"จินดามุนีนี้
พระโหราธิบดีเดอมอยู่เมืองสุกโขทัย
แต่ถวายแต่ครั้งสมเดจ
พระนารายน์เปนเจ้าลพบุรี
ฯะ" (หมายเหตุ
ผมเขียนตามต้นฉบับ)
จากสมัยของการแต่งที่ระบุไว้นับว่า
"จินดามณี"
เป็นหนังสือแบบเรียนภาษาไทยเล่มแรก
และเนื่องจาก
สระ "อะ" แผลงเป็นสระ
"อุ" ได้ "จินดามณี
อาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า
"จินดามุณี"
สำหรับด้านเนื้อหาของหนังสือแบ่งออกเป็น
๒ ภาคคือ อักขรวิธี
และฉันทลักษณ์
การแต่งเริ่มจาก
ตัวอักษร การประสม
อักษรตามมาตราแม่ ก กา
และมาตราตัวสะกด
อักษรศัพท์
การแต่งฉันทลักษณ์ และ
ตัวอย่างบทประพันธ์
จากมหาชาติคำหลวงและลิลิตพระลอ
จากกลวิธีในการแต่ง
"จินดามณี"
ซึ่งมีหลายรูปแบบเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
จึงกล่าวได้ว่า "พระโหราธิบดี"
เป็นนักเทคโนโลยีการศึกษาชั้นหนึ่งของไทย.
เอกสารอ้างอิง
:
ประพิมพ์พรรณ
โชคสุวัฒนสกุล, การวิเคราะห์หนังสือแบบเรียน.
สำนักพิมพ์มหาวิทยลัยรามคำแหง.
๒๕๓๑
เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา
"เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา"
หน่วยที่ ๙-๑๕
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,
๒๕๓๖ |