ปี
๒๕๓๖ ผมสนใจเรื่อง CAI
ด้วยหวังว่าจะเป็นนวัตกรรมที่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการศึกษาไทย
ของบ้านเราได้
ผ่านไป
๙ ปี CAI
ก็ยังเป็นฝันค้างของผมรวมทั้งอีกหลายๆ
คน
ที่เกี่ยวข้องกับวงการศึกษา
ณ
ปัจจุบัน
หากใครร่ำเรียนในสาขาวิชาโสตทัศนศึกษา,
เทคโนโลยีการศึกษาหรือนวัตกรรมการศึกษา
หากไม่ได้ยินคำว่า WBI
อาจจะถือว่าตกยุคตกสมัยก็เป็นได้
WBI
: Web-Based Instruction
ซึ่งผมไม่ขออธิบายขยายความ
ทั้งนี้เนื่องจากมีผู้ที่รู้มากกว่าผมได้
อธิบายไว้เป็นอย่างดีแล้ว
แต่ถ้าผมจะอธิบายในสถานการณ์ปัจจุบัน
ก็จะขอพูดอย่างที่จั่วหัวว่า
"เว็บ-เบส
อินสตรั๊คชั่น
กับความเฟ้อ
ฝันของการศึกษาไทย"
ลองนึกย้อนหลังกลับไปอาจจะก่อนปี
๒๕๓๖ ด้วยซ้ำ CAI
ได้รับการกล่าวขานถึงอย่างยิ่งในด้านนวัตกรรม
ใหม่เพื่อการศึกษา ...
เมื่อครั้งที่ผมค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่อง
CAI
เพื่อทำวิจัยแทบจะหาหนังสือภาษาไทยและงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่อง
นี้อ่านไม่ได้
WBI
ก็เช่นเดียวกัน
ไม่ว่าจะเป็นหนังสือภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยแทบไม่มีให้ค้นคว้ากันก็ว่าได้ใน
บ้านเรา ...
ดีที่ผมไปศึกษาเรื่องการออกแบบเว็บไซต์แทน
ก็พอถูๆ ไถๆ
ไปได้และผมปรารถนาจะเป็นคนทำเว็บไซต์
เพื่อความบันเทิงทางวิชาการ
ผมเรียกเว็บไซต์ของผมว่า
WBE : Web-Based Edutainment ...
มาตั้งแต่เป็นกระดานดำออนไลน์
มิบังอาจใช้ชื่อว่า WBI
เนื่องด้วยความสามารถไม่ถึงชั้น
หากผมยังคงทำงานในกรุงเทพฯ
เมืองที่เพียบพร้อมหลายๆ
ด้าน
ขณะนี้ผมก็ยังคงคิดว่าคอมพิวเตอร์หรือ
อินเทอร์เน็ตจะเข้ามาช่วยยกระดับการศึกษาของบ้านเราได้อย่างที่ผู้เกี่ยวข้องคาดหมายไว้
แต่ในความเป็นจริงแล้ว
...
มันเป็นอย่างที่เราคิดหรือไม่
บทความเกี่ยวกับ
WBI หลายๆ
บทความที่ผมผ่านตาล้วนแล้วแต่เขียน
แปลและเรียบเรียงขึ้นมา
ด้วย
อาศัยพื้นฐานของคนเมือง
คนมี
และนักการศึกษาต่างประเทศเกือบทั้งนั้น
บางทีอ่านแล้วเคลิบเคลิ้มเหมือนกัน
หากลองมาพิจารณาตามความเป็นจริงที่เราได้ประสบ
บทความหลายๆ
บทความมีไว้เพื่อให้ค้นคว้าและอ้างอิง
เพื่องานวิจัยเท่านั้น
หาได้มีการปฏิบัติจริงไม่ในแวดวง
การศึกษา
ผมคงไม่มองโลกในแง่ร้ายเกินไปนัก
แต่ในความ
เป็นจริงแล้ว
โลกนี้ช่างโหดร้ายนัก
ภาพข้างบนนี้
นักเทคโนโลยีการศึกษา
นึกถึงอะไรบ้าง
... WBI หรือ
ช่องว่างระหว่างการศึกษา
ปัญหาแท้จริงของการศึกษาไทย
อยู่ที่สื่อการสอน,
นวัตกรรม หรือตัวผู้สอน
ความไม่จริงจังที่จะแก้ปัญหา
หรือปัจจัยอื่นๆ ฯลฯ
มีงานวิจัยหลายชิ้นที่สำรวจปัญหาเกี่ยวกับการใช้สื่อการสอนของผู้สอน
และงานวิจัยนั้นนำไปใช้ได้จริงหรือ
ไม่
แม้แต่งานวิจัยของผมเองเกี่ยวกับตัวชี้นำใน
CAI
ทุกวันนี้ผมนำมาใช้กับการศึกษาแค่ไหน
ยอมรับอย่าง
ลูกผู้ชาย
ไม่อายฟ้าดินว่า "ผมไม่มีโอกาสนำมาใช้เลย"
เพราะผมไม่มีโอกาส
ส่วนงานวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบเว็บไซต์นั้น
ผมได้นำมาใช้เกือบ ๑๐๐%
เพราะผมมีอาชีพเป็นคนทำ
เว็บไซต์เพื่อความบันเทิงทางวิชาการ
(และการกุศล)
ย้อนกลับมาถึงเรื่อง
WBI แล้ว
อดีตเป็นบทเรียนของปัจจุบัน
และปัจจุบันเป็นตัวบ่งชี้ถึงอนาคต
WBI
เป็นเรื่องใกล้ตัวของนักเทคโนโลยีการศึกษาที่จำเป็นต้องเรียนรู้ซึ่งนวัตกรรมใหม่
แต่สิ่งที่ผมอยาก
ย้ำเตือนไว้ ณ
ที่นี้ว่าเราต้องไม่ลืมสภาพความเป็นจริงของสังคมไทยว่าเป็นอย่างไร
ครูมีความพร้อมหรือไม่ที่จะพัฒนาสื่อที่เรากำลังกล่าวขวัญถึง...
โดยเฉพาะครูในชนบท
ในห้องเรียนมีเครื่องฉายแผ่นใสวางอยู่
แต่ครูยังคงเขียนแผ่นใสด้วยลายมือที่คนเขียนอ่านออกผู้เดียว
ทั้งๆ
ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องปริ้นเตอร์แบบเลเซอร์และอิงค์เจ็ท
นักเทคโนโลยีการศึกษาจะไปกล่าวถึง
WBI ทั้งๆ
ที่ครูผู้สอนส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมและไม่คิดที่จะพร้อม
นักเทคโนโลยีการศึกษาควรจะไปเรียนรู้เพื่อให้ทันนวัตกรรมใหม่หรือทำสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น
นี่เป็นคำถาม?
มีนักเทคโนโลยีการศึกษาคนไหนที่กล่าวถึงการหันมาใช้สิ่งที่มีอยู่ในโรงเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เราควรจะมาพูดถึงการผลิตบัตรคำ,
แผ่นใส
หรือแม้แต่กระทั่งการผลิตฟิล์มสไลด์ด้วยคอมพิวเตอร์
จะดีกว่าหรือไม่
เชื่อหรือไม่ว่า
เราสามารถผลิตฟิล์มสไลด์ด้วยคอมพิวเตอร์ได้???
วันนี้เราพูดถึง
WBI
ในขณะที่โรงเรียนมีเครื่องฉายสไลด์เครื่องฉายแผ่นใสแต่ใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่
นักเทคโนโลยีการศึกษาควรหันมาทบทวนบทบาทตัวเองหรือไม่
หรือนักเทคโนโลยีการศึกษามีหน้าที่
วิ่งตามศึกษา "นวัตกรรมใหม่ทางการศึกษา"
แล้วลืมภูมิปัญญาท้องถิ่น
นี่เป็นอีกหนึ่งคำถาม!!!
แถมท้ายอีกนิด
"ผมไม่ได้มองโลกในแง่ร้าย
แต่มองในความเป็นจริง
ณ วันนี้เท่านั้น"
ฝากภาพให้ดูอีกภาพครับ...
|