"เทคโนโลยีการศึกษา:ทันสมัยหรือพัฒนา" ตอนจบ

จากที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการถ่ายภาพ, การผลิตวีดิทัศน์, การผลิต E-learning, CAI, WBI, การผลิตตำรา, เอกสารต่างๆ เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ถูกเก็บไว้ใน chip กว้างยาวไม่กี่เซนติเมตร รวมราคาค่างวดไม่ถึง ๒๐,๐๐๐ บาท เราก็สามารถเป็นเจ้าของ Studio ขนาดย่อมได้

ลองนึกตรึกตรองดูว่า คอมพิวเตอร์ทุกวันนี้เราใช้มันคุ้มค่าหรือเปล่าหากกล่าวไป ข้าพเจ้าไม่อยากให้คิดว่าเป็นการโอ้อวดหรือแสดงสรรพคุณ ขอให้คิดว่า เรามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันดีกว่า

เป็นความเดิมตอนที่แล้ว


แนะนำ Moodle ที่มหาวิทยาราชภัฏสกลนคร

เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาวันที่ ๕-๖ สิงหาคม ข้าพเจ้าได้รับเกียรติและโอกาสอย่างสูงให้ไปแนะนำ Software สำหรับทำ E-learning ที่ชื่อ Moodle หวังว่าท่านผู้อ่านขาประจำของผมคงคุ้นเคยกันดีนะครับ

ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อย่างที่กล่าวไว้หลายครั้งหลายหนแล้วว่า ยุคนี้ เป็นยุคตื่นทองของ E-learning จริงๆ และที่สำคัญคือ ใครๆ ก็สามารถทำเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพานักเทคโนโลยีการศึกษาอีกแล้ว

และสื่อการเรียนการสอนต่างๆ ในอดีตที่ต้องอาศัยนักวิชาการโสตฯ หรือนักเทคโนโลยีการศึกษาช่วยผลิตให้ บัดเดี๋ยวนี้ ใครๆ ก็ทำได้อีกแล้ว มีคอมพิวเตอร์สักชุดหนึ่ง, กล้องถ่ายภาพดิจิทัล กับเครื่องสแกนภาพ, เครื่องพิมพ์ ก็สามารถผลิตสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี

จะเอาอะไรละครับ ..

  • แผ่นใส ก็สามารถพิมพ์ออกมาจากเครื่องพิมพ์ได้แล้ว

  • ภาพประกอบการสอน มีแหล่งข้อมูลมากมายในแผ่น CD

  • สื่อสิ่งพิมพ์ เอกสารประกอบการเรียนการสอน

  • สื่อมัลติมีเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น CAI, VCD มีคู่มือการผลิต การใช้งานวางขายตามแผงหนังสือทั่วไป เด็กประถม มัธยมก็สามารถทำได้แล้วทุกวันนี้

  • เว็บไซต์เพื่อการเรียนการสอน หรือ WBI

ในเมื่อทุกอย่างมันดูเหมือน On Board หมดแล้ว เหมือนกับคอมพิวเตอร์ที่เมื่อก่อนอุปกรณ์ต่างๆ ต้องซื้อหามาเสริมเพิ่มแต่ง เช่น VGA Card, Sound Card, Modem, LAN แต่บัดเดี๋ยวนี้ถูกบรรจุมาพร้อม Main Board หมดแล้ว เราเพียงหา CPU กับ RAM มาเพิ่มตามความต้องการแค่นั้น

เมื่อเครื่องไม้เครื่องมือผลิตสื่อทั้งหลายมันพัฒนาไปไกลสุดกู่ แถมยังบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์เกือบหมดแล้ว เราจะทำยังไงกันดี หลักสูตรต่างๆ จะยังคงเหมือนเดิมอยู่หรือไม่

เป็นคำถามที่ท้าทายอย่างยิ่ง และหมิ่นเหม่ต่อการถูกกล่าวหา (สำหรับผม--คนขบถ)

ให้ไปหาคำตอบกันเอาเองเถิด

...

มีหนังสืออีกเล่มที่ข้าพเจ้าอยากแนะนำให้อ่านคือ The Road Ahead หรือ เส้นทางสู่อนาคต ซึ่งเขียนด้วย บิลล์  เกตส์ บุคคลที่คนใช้คอมพิวเตอร์ทั่วโลกรู้จักดี

บทที่ ๙ เรื่อง การศึกษาคือการลงทุนที่ดีที่สุด (ข้าพเจ้าคิดว่าเคยกล่าวถึงไปแล้ว) ในบทนี้ จะกล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาในหลายมิติ และเนื้อหาต่างๆ ในหนังสือก็เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจทั้งสิ้น

เพราะเขียนโดย บิลล์  เกตส์ ถึงแม้จะเขียนเมื่อปี ค.ศ.๑๙๙๕ หรือก่อนหน้านั้น แต่มันคือปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้น

และหากใครได้อ่านวิทยานิพนธ์ทั้ง ๒ เล่มของผม ก็จะเห็นส่วนที่ผมอ้างอิงถึงในหนังสือเล่มนี้ด้วย (ว่างๆ จะเอามาเล่าสู่กันฟังอีก)

เอาละ ข้าพเจ้าขอกล่าวถึงยุคตื่นทองของ E-learning ของเมืองไทย และขอเอาบทความที่เขียนเมื่อปี ๒๕๔๓ มากล่าวย้ำ ซ้ำอีกเป็นรอบที่เท่าไหร่ก็ไม่รู้

เพื่อตอกย้ำความคิดของข้าพเจ้าเมื่อปี ๒๕๔๓ ว่า บัดเดี๋ยวนี้ มันกลายเป็นความจริง

 ปี ๒๕๓๖ ผมได้รู้จักคำว่า คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาเป็นครั้งแรกในระหว่างเรียนปริญญาโท ด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ครั้งนั้นอาจารย์ได้เอาโปรแกรม Toolbook 1.5 ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์สำหรับสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

    ผมกับเพื่อนๆ ช่วยกันแกะโปรแกรมจนกระทั่ง ToolBool II Instructor ออกมานั่นแหละถึงเรียนจบใช้เวลาเรียน ๕ ปี พอดีแต่ก็คุ้มกับการเรียนรู้ 

    ปี ๒๕๔๒ ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา ผมได้เห็นความแตกต่างของทั้งสองอย่างแล้ว ทำนายไว้เลยว่าต่อไปคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI ไม่ว่าจะสร้างจากซอฟต์แวร์ตัวไหนอาจจะต้องปิดตัวลงในเร็วๆ นี้ หากมีการพัฒนาเรื่องของ WBI กันอย่างจริงๆ จังๆ

   ผมเลิกค้นคว้าและจับงาน CAI ตั้งแต่ผมได้มาทดลองทำ WBI หรือ Web-Based Instruction ทำไมผมถึงกล้ากล่าวเช่นนี้ลองมาดูความแตกต่างของทั้งสองนะครับ

"WBI

CAI

สามารถเขียนโดย HTML ซึ่งเป็น
การใช้ทรัพยากรของเครื่องน้อย

ต้องเขียนจากโปรแกรม ซึ่งใช้ทรัพยากร
และเนื้อที่ค่อนข้างมาก

เปลี่ยนแปลงและแก้ไขข้อมูลง่ายและสามารถทำได้ตลอดเวลา

เมื่อแก้ไขข้อมูลแล้วต้องทำการติดตั้ง
ใหม่

สามารถเรียนโดยไม่ต้องใช้แผ่นโปรแกรมในการติดตั้ง

ต้องติดตั้งโปรแกรมก่อนใช้งาน

มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ออกแบบ ผู้สอน
และผู้เรียนคนอื่นๆ ได้

มีปฏิสัมพันธ์เฉพาะกับตัวโปรแกรม

เรียนได้ทุกที่ที่มีอินเทอร์เน็ต

ต้องมีโปรแกรมถึงจะเรียนได้

ผู้เรียนสามารถ Download ข้อมูลและนำไปปรับปรุงแก้ไขได้

ไม่สามารถนำไปปรับปรุงจากผู้ใช้แก้ไขได้

สามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลอื่นๆ ได้ทั่วโลก

ไม่สามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลอื่น *

   ตอนนี้ผมกำลังหาความแตกต่างของทั้งสองเพิ่มเติมอยู่นะครับ อย่างไรก็ตาม ก็ต้องขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของระดับบริหารด้วย แต่สำหรับผมแล้ว ผมมีความเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า WBIจะเป็นตัวแปรที่สำคัญในเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาของไทย...

๑ ก.พ.๒๕๔๓

อ่านมาถึงตรงนี้ ขอท่านอย่าได้มีอคติหรือหมั่นไส้ต่อข้าพเจ้าเลย ขอให้เชื่อเถิดว่าข้าพเจ้ามีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาวงการศึกษาด้วยวิชาชีพที่ข้าพเจ้าร่ำเรียนมา

โดยสุจริตใจ ...

พลันที่ข้าพเจ้าได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ให้ไปแนะนำ Software ดังที่กล่าวไปข้างต้น ทำให้ข้าพเจ้ารู้ว่า

ข้าพเจ้ายังเป็นคนโง่ที่อวดฉลาด อยู่ ... ยอมรับกันดื้อๆ นี่แหละ

วรัท  พฤกษาทวีกุล หรือ บักบอย, (http://www.edtechno.com), สยาม  จวงประโคน (http://www.siamednet.com) และไพฑูรย์  ทิพย์สันเทียะ (http://www.toonsoftware.com) น้องทั้ง ๓ คนที่ร่วมพัฒนา thaimoodle.net และ thaidigitalschool.net ด้วยกัน ร่วมเดินทางไปด้วยกัน

ข้าพเจ้ากับบักบอยนั้น คงไม่ต้องพูดถึงความสัมพันธ์กันมากนัก แต่น้องอีก ๒ คน เพิ่งเจอหน้ากันเป็นครั้งแรก แต่เราก็สนทนากันผ่าน MSN กันเป็นประจำ

และทั้ง ๓ นั้น ก็กำลังเรียนปริญญาโทด้านเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าข้าพเจ้าค้นพบเพชรน้ำงามของวงการเทคโนโลยีการศึกษา จากการร่วมงานในครั้งนี้นี่เอง

ความไม่ประสาด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ถือเป็นจุดอ่อนอย่างยิ่งของข้าพเจ้า ทำให้ต้องเสียเวลาลองผิด ลองถูกในการทดสอบโปรแกรมต่างๆ

และทำให้ท้อใจไปหลายครั้งหลายครา

แต่เมื่อมาพบกับน้องสยามและน้องไพฑูรย์ ทำให้ข้าพเจ้าพบวิธีกำจัดจุดอ่อนและสานต่อความคิดความฝันของพวกเราทั้ง ๔ คน

นั่นคือ ทำให้ E-learning เป็นเรื่องที่ง่ายที่สุดเท่าที่เราจะทำได้

ประการแรกคือ เรื่องการติดตั้ง Software Moodle ในระบบ internet และ intranet บนระบบปฏิบัติการ Windows และ Linux ซึ่งน้องไพฑูรย์ได้พัฒนาไปได้ระดับหนึ่งแล้ว เราตั้งชื่อว่า Summapi_Moodle Version มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เพื่อเป็นเกียรติที่ให้โอกาสเรา

ประการต่อมาคือ เราจะสร้างคู่มือการใช้งาน Moodle ในรูปแบบ Multimedia และนอกจากนี้แล้ว การพัฒนารูปแบบของ theme ซึ่งน้องสยาม ก็จะเป็นหัวหอกในการพัฒนา

อย่างไรก็ดี E-learning เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษาเท่านั้น ยังมีทฤษฎีอีกมากมายที่เราต้องนำมาปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม ซึ่งเราทั้ง ๔ คนก็คงทำได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น

และเรายังต้องการเพื่อนร่วมทางครับ

ขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครเป็นอย่างสูงที่ให้โอกาสพวกเราครับ

ด้วยจิตคารวะ



คำ "ติ-ชม" ของท่านมีค่ามหาศาลต่อการพัฒนาเว็บไซต์ครับ

created by.
กระดานดำออนไลน์
730/4 Tassabarn 7 Rd. Tambol.Ra-ngang
Sikhoraphum District, Surin Province.Thailand 32110

email : jakrapog@hotmail.com 
๘ สิงหาคม ๒๕๔๗

-ค