เหตุการณ์ชุมนุมช้างอย่างไม่ได้ตั้งใจในปี
๒๔๙๘
ทำให้ผู้คนที่ทราบข่าวต่างพากัน
สนใจกันเป็นจำนวนมาก
และในปี ๒๕๐๓ อำเภอท่าตูม
ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านช้างได้มีการ
เฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอใหม่ นายวินัย สุวรรณประกาศ
ซึ่งเป็นนายอำเภอในขณะนั้นได้เชิญ
ชวนให้ชาวกูยเลี้ยงช้างทั้งหลาย
ให้นำช้างของตนมาจัดแสดงให้ประชาชนได้ดูได้ชมกัน
เนื่องจากไม่สามารถจะไปคล้องช้างตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาได้อย่างเคย
อันเนื่องมาจาก
ปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ
การแสดงในครั้งนั้นด้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก
ซึ่งนอกจากจะมีการแสดง
คล้องช้างให้ดูแล้ว
ยังมีการเดินขบวนแห่ช้าง
การแข่ง วิ่งช้าง และในกลางคืนก็ได้มีงานรื่นเริง
มีมหรสพต่างๆ ตลอดคืน
ซึ่งใครจะคาดคิดว่าจากงานเฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอเล็กๆ
แห่งหนึ่ง
ในถิ่นทุรกันดารของภาคอืสานเมื่อวันที่
๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๓
จะกลายมาเป็นงานประเพณี
ของชาติที่โด่งดังไปทั่วโลก
นับต่อเนื่องมาจวบจนปัจจุบัน
ประเพณีการแสดงของช้างได้ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นเวลา
ร่วม ๕๐ ปี แล้ว
ถ้าเป็นคนก็ถือว่าย่างเข้าสู่วัยชราก็ไม่ผิดเท่าใดนักสุรินทร์
จังหวัดที่เคย
เงียบเหงาในอดีต
ได้ถูกชาวกวยและช้างสร้างให้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกอย่างน่าภาค
ภูมิใจ
วีรกรรมของชาวกูยปัจจุบันไม่ได้แตกต่างจากบรรพบุรุษเลยแม้แต่น้อย...
...สุรินทร์เมืองที่สร้างจากกวย
(กูย) รวยเพราะช้าง... |