"พี่อุ่น พังลำดวน ช้างแฝด จุ๋ม+จิ่ม"

เรื่องของช้าง


bullet อาจเป็นความบังเอิญหรือเรื่องเหลือเชื่อก็ว่าได้ ทันทีที่ผมจะลงมือทำเว็บไซต์เกี่ยวกับ
ช้าง มีอันต้องได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องช้าง ชนิดที่ผมเองก็ยัง "   "
อยู่เหมือนกัน เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังคร่าวๆ....

ผมตั้งใจจะค้นคว้าเกี่ยวกับช้างมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ มีเอกสารอะไรเกี่ยวกับช้างก็เก็บๆ เอาไว้ แต่ยัง
ไม่ได้ใช้งานมันสักที พอมาปีนี้จะลงมือเขียนข้อมูลก็หลั่งไหลเข้ามาจนจับต้นชนปลายไม่ถูก...

ก่อนกลับมาเลือกตั้ง สว. ผมไปเจอเพื่อนเก่าแก่สมัยมัธยมนู้นที่หมอชิต เดี๋ยวนี้ทำงานเป็น NGO
อยู่เขาใหญ่ สมัยที่เธอไปเรียนธรรมศาสตร์ผมอยู่รามคำแหง ก็ได้ยินข่าวเธอออกประท้วงเพื่อคน
ด้อยโอกาส
เป็นส่วนใหญ่ พอเรียนจบก็ได้ทำงานตามที่ตนชอบ...เลยได้นั่งรถกลับมาด้วยกัน
พอดีแฟนเธอมาส่ง ก็ถามไถ่ไปมา...บิงโก...มันบังเอิญอย่างเหลือหลาย แฟนเพื่อนผมคือหัวหน้า
โครงการวิจัยช้างป่าที่กุยบุรี
...ก็ได้พูดคุยเรื่องช้างกันพอหอมปากหอมคอ...

กลับมาถึงบ้านที่ศีขรภูมิ หลังวันเลือกตั้งไปกินก๋วยเตี๋ยวที่ร้านแถวๆ ปราสาทศีขรภูมิ หยิบหนังสือ
พิมพ์ไทยรัฐฉบับวันอาทิตย์ที่ ๕ มีนาคม ๒๕๔๓ ในร้านมาอ่าน เจอสกู๊ปพิเศษเรื่องแมมมอธอีก
ใน "ไทยรัฐ ซันเดย์สเปเชียล" ก็เลยขอหนังสือพิมพ์หน้านั้นมาเลย ก็เอามาประกอบการเขียนนี่
แหละ เผลอๆ ก็เหมือนลอกทำรายงานส่งครูเลย (ไม่ว่ากันนะครับ)

นี่ก็วันอังคารเข้าไปแล้ว ต้องรีบกลับไปอัดวีดิทัศน์ของ UBC คืนวันที่ ๑๒ อีก...ได้เรื่องยังไงจะเอา
มาเสริมเติมแต่งเข้าไปอีก...ติดตามเรื่องราวของแมมมอธได้แล้วครับ...

bullet จากเอกสารและตำราที่ผมมีอยู่บอกว่าเจ้าแมมมอธช้างโบราณที่เพิ่งสูญพันธุ์ไปนั้นเป็น
ลูกหลานของช้างกลุ่ม "สเตโกดอน" (Stegodont) แต่ก่อนที่จะมาว่าถึงรายละเอียด
เรามาดูสายพันธุ์ของช้างอื่นๆ ก่อนนะครับ จะได้ทราบที่มาที่ไปกันบ้าง

 

๑. ไดโนเทอเรส (Dinotheres) เป็นสายพันธุ์ของช้างที่ประกอบด้วยหลาย Species และ
ถือว่าเล็กที่สุด ส่วนที่ใหญที่สุดนั้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามีขนาดพอๆ กับช้างอาฟริกาในปัจจุบัน

 

Dinotheres

bullet ลักษณะเด่นของไดโนเทอเรสคือมีงาที่งอกออกมาจากขากรรไกรล่างโค้งเข้าหาหน้าอก
ตัวเอง และมีชีวิตอยู่บนโลกตั้ง ๒๐ ล้านปีครับ พบในยุโรปและเอเชียอีกต่างหาก
๒. มาสโตดอนชนิดขากรรไกรยาว (Long-jawes Mastodon) มีลักษณะเด่นๆ คือ
มีขากรรไกรล่างยื่นออกมายาวมากและมีงาแบนๆ ออกมา ๑ คู่ ส่วนขากรรไกรบนก็ยาวเช่นกันและ
ยังมีงาอีกคู่หนึ่งงอกออมาด้วยแต่ว่ายาวกว่างาคู่ล่าง รวมแล้วมันมีงาทั้งหมด ๒ คู่ ๔ งา นั่นเอง ส่วน
งวงของช้างชนิดนี้จะค่อนข้างสั้น มันมีชีวิตอยู่ตั้งแต่ต้นสมัยไมโอซีนมาจนกระทั่งไพลโอซีนหรือ
เมื่อหนึ่งล้านปีที่แล้ว
๓. มาสโตดอนชนิดขากรรไกรสั้น (Short-jawes Mastodon) หรือมาสโตดอนแท้
(family Masyonidae) เป็นลักษณะใกล้เคียงกับช้างปัจจุบันมาก ซึ่งบรรพบุรุษของช้างพวกนี้
ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ ๔๐ ล้านปีก่อน และแตกหน่อสืบพันธุ์วิวัฒนาการเป็นเอกเทศอยู่ในช่วงเดียวกับ
พวกขากรรไกรยาวข้างบน
bullet ช้างแท้หรือช้างปัจจุบันก็เป็นสายพันธุ์ที่วิวัฒนาการมาจากชนิดนี้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์
ได้ชี้ความแตกต่างของช้างโบราณกับช้างปัจจุบันโดยอาศัย "ฟัน" เป็นหลัก และต้น
ตระกูลของช้างปัจจุบันก็คือพวก "สเตโกดอน" (Stegodont) ที่แปลว่า "ฟันหลังคา"
เนื่องจากฟันของช้างสกุลนี้มีลักษณะหน้าตัดคล้ายกระเบื้องมุงหลังคา

 

mastodon
"โฉมหน้าจากจินตนาการของเจ้ามาสโตดอน"
(ภาพจากโปสเตอร์ของชมรมศูนย์ธรรมชาติศึกษาเพื่อการอนุรักษ์ช้าง)

   ในขณะที่ช้างสกุลต่างๆ ทยอยสูญพันธุ์ไปจนหมด แต่มาถึงยุค Pleistocene หรือหนึ่งหมื่นปี
ที่แล้ว ลูกหลานเหลนโหลนของกลุ่มสเตโกดอนกลับหลงเหลืออยู่ โดยวิวัฒนาการออกเป็น ๒ สาย
คือ ช้างอาฟริกา (Loxodonta africa) และช้างเอเชีย (Elephant maximus) พวกเดียวกับช้าง
สุรินทร์บ้านผมเองนี่แหละ
bullet ทายาทของสโตโกดอนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้วได้แก่ แมมมอธ (Mammoth)
ที่เรารู้จักกันดีไงครับ แม้จะสืบเชื้อสายมาจากสเตโกดอนรุ่นแรกๆ แต่แมมมอธนั้นถือ
ว่ามีวิวัฒนาการแยกจากช้างอาฟริกาและช้างเอเชีย ซึ่งมีอยู่หลายสปีชีส์ด้วยกัน ที่โด่งดัง
ที่สุดก็คงไม่พ้น "แมมมอธขนยาว" ที่ขุดค้นพบในไซบีเรีย ซึ่งจากซากที่ขุดพบนั้นทำ
ให้เราทราบว่ามีมีขนยาวและมีสีออกไปทางน้ำตาลแดง แถมมีรูปร่างไม่ใหญ่โตมากนัก

hair.jpg (3740 bytes)
ขน "แมมมอธ"
(ภาพจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ๕ มีนาคม ๒๕๔๓)

จุดเด่นของแมมมอธคือมีงายาวมาก แถมยังตวัดโค้งมาล้อมงวงเอาไว้ด้วย บางตัวมีความยาวของงา
ตั้ง ๑๖ ฟุต และจากการสูญพันธุ์ของมันยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนไหนออกมายืนยันว่าแมมมอธ
ตัวสุดท้ายลาโลกไปเมื่อไหร่ แต่หลายๆ ฝ่ายก็มีความเห็นตรงกันว่า มันมีชีวิตอยู่จนกระทั่งยุคแรก
ของมนุษย์
(สัตว์ที่ชอบข่มเหง รังแก เอาเปรียบผู้อื่น)   ถ้าจะว่าไปแล้ว ซากแมมมอธที่ขุดค้นพบ
ล่าสุดและออกอากาศไปพร้อมกันทั่วโลกก็คงจะทำให้เราๆ ท่านๆ ได้เห็นถึงสภาพที่แท้จริงของมัน

ช้างโบราณ "แมมมอธ" Mammoth
ช้างโบราณ "แมมมอธ"
(ภาพจากโปสเตอร์ของชมรมศูนย์ธรรมชาติศึกษาเพื่อการอนุรักษ์ช้าง)


back (ย้อนกลับ).gif (207 bytes)ย้อนกลับ

หน้าต่อไป next (หน้าถ้ดไป).gif (207 bytes)


กลับไปสารบัญ (เมนู) งานช้าง ตำนานกูย จากป่าสู่เมือง

Guestbook

Created By:Jakrapong Juajun
775/11 Sukhaphibarn 4 Rd. Sikhoraphum

Surin, Thailand. 32110
email: kradandum@.com
ICQ#42251791

Homepage: http://www.kradandum.com/

yo.jpg (13579 bytes)