|
การบายศรีสู่ขวัญนาคของชาวกูยนั้น
นิยมทำเป็นคู่เพื่อความเป็นสิริมงคล
โดยจะจัดขึ้นในขึ้น ๑๓ ค่ำ
ครั้นพอถึงวันขึ้น๑๔ ค่ำ
ซึ่งถือเป็นวันแห่นาค
ทุกบ้านก็จะให้นาคขึ้นช้างและแห่มารวมกันที่วัดบ้านตากลาง
ก่อนที่ทั้งหมดจะเคลื่อนขบวนแห่ไปที่ลำน้ำมูล
บริเวณที่เรียกว่า
"ศาลเจ้าพ่อวังทะลุ"
หรือเรียกในภาษากูยว่า
"หญ่าจู๊"
เพื่อไปทำพิธีขอขมาและบอกกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวกูยเคารพนับถือ
นอกจากศาลเจ้าพ่อที่บริเวณวังทะลุแล้ว
ยังมีอีก ๒
แห่งคือที่ท้ายหมู่บ้านและท้ายวัด |
|
|
ในการแห่ขบวนทั้งหมดไปยังบริเวณลำน้ำมูล
คงจะคล้ายๆ
กับประเพณีบวชนาคที่หาดเสี้ยวของจังหวัดสุโขทัย
และประเพณีบวชนาคของหมู่บ้านช้าง
บ้านตากลางนี้
ก็มีช้างเข้าร่วมขบวนนับร้อยเชือก
ซึ่งนับได้ว่าเป็นขบวนแห่นาคที่ยิ่งใหญ่และหาดูได้ยากยิ่งในทุกวันนี้ |
|
|
ขบวนแห่นาคที่ยิ่งใหญ่ของชาวกูย
เพื่อไปขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ศาลเจ้าพ่อวังทะลุ
|
|
ช้างแต่ละเชือกที่เข้าร่วมขบวนแห่นั้น
เจ้าของหรือควาญก็ได้แต่งองค์ทรงเครื่องไม่แพ้กับนาคที่นั่งอยู่บนเจ้าตัวเท่าใดนัก
บางเชือกก็มีการเขียนคำเท่ๆ ไว้ตามตัว
ให้ผู้คนได้อ่านกันคลายเครียดด้วยงานนี้ทั้งนาคทั้งช้างต่างก็ไม่ยอมแพ้กันในเรื่องความงาม
เมื่อขบวนแห่มาถึงบริเวณวังทะลุแล้ว
ก็จะมีการเซ่นผีปู่ตาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ตามธรรมเนียมของชาวกูยโดยทั่วไป
การเซ่นปู่ตานั้นจะเป็นในลักษณะของ
การเสี่ยงทายด้วย
โดยการดึงคางไก่ที่ใช้ในพิธีออกมาดู
ซึ่งเป็นความเชื่อเช่น
เดียวกับการเสี่ยงทายคางไก่ก่อนออกไปคล้องช้าง |
|
|
|
การเสี่ยงทายคางไก่ก่อนการบวชนี้
เพื่อทำนายดูว่าจะมีเหตุการณ์อะไรที่เป็นอุปสรรคต่อการบวชหรือไม่
สำหรับกระดูกคางไก่ที่ใช้เสี่ยงทายนั้น
จะมีลักษณะเป็น
๓ ง่าม
และดูจากส่วนตรงกลางของกระดูกถ้ามีลักษณะปลายตรงก็จะบวชได้นานแต่ถ้าเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งก็จะบวชได้ไม่นาน
และถ้าปลายนั้นงองุ้มเข้าหาคอ
แสดงว่าจะมีอุปสรรคทำให้ไม่สามารถบวชได้
เมื่อพิธีทุกอย่างเสร็จสิ้นก็จะมีพิธีอุปสมบทในวันขึ้น
๑๕ ค่ำ ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาของทุกปี... |
|
|
|
|
|