พ่อผมเองครับ
พ่อผมเอง (ในวงกลมสีเหลือง ภาพนี้เกือบ ๔๐ ปีแล้ว)

จากคำบอกเล่าของชาวกวยที่นี่ บอกว่าจัดมาไม่ต่ำกว่า ๒ ชั่วอายุคนแล้ว แต่ว่าไม่มีการประชาสัมพันธ์ไปสู่ภายนอกมากนักอาจเป็นเพราะชาวกวยเป็นกลุ่มที่รักความ
สงบ และก็เห็นเป็นประเพณีธรรมดาๆ

แต่ว่าถ้าใครได้มาเห็นแล้ว รับรองเลยว่าไม่ธรรมดาแน่ๆ งานช้างที่ว่ายิ่งใหญ่แล้ว มาเจองานนี้เข้าก็ต้องอึ้งไปเหมือนกัน เพราะงานช้างถือว่าเป็นการแสดง แต่งานบวชนี้เป็นประเพณีที่เกิดก่อนงานช้างหลายสิบปี

หลังจากมีผู้คนไปพบเห็นและมีการบอกเล่าต่อๆ กันมา ทำให้ประเพณีดังกล่าวถูกส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์และในแต่ละปีก็จะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศแวะเข้ามา
ร่วมขบวนแห่กันอย่างคึกคัก ทำให้ประเพณีบวชของชาว
กวยเริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น

 
bullet

ถ้าหากท่านแวะมาร่วมชมประเพณีงานบวชแล้ว ท่านยังจะได้พบเห็นสภาพความเป็นอยู่ของชาวกวยเลี้ยงช้าง
ซึ่งอาจจะแตกต่างกับการเลี้ยงช้างของทางภาคเหนือ คือที่นี่จะเลี้ยงช้างไว้ในอาณาบริเวณบ้าน คล้ายสัตว์เลี้ยง
โดยทั่วไป ทำให้มีความผูกพันและยากที่คนอื่นจะเข้าใจ และหากได้พูดคุยกับพวกเขาท่านก็จะเข้าใจมากขึ้นว่า ทำไมพวกเขาจึงต้องนำช้างไปเร่ร่อนตามเมืองใหญ่

สนุกสนานตามประเพณี
สนุกสนานตามประเพณี

 

bullet

ทุกชายคาที่เลี้ยงช้างจะมีศาลปะกำ (เชือกที่ใช้คล้องช้าง ทำมาจากหนังควาย)ที่ชาวกวยถือว่าเป็นที่สิงสถิตของดวงวิญญาณบรรพบุรุษ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวงที่พวกเขานับถือ

morning1.jpg (13643 bytes)
วิถีชีวิตยามเช้าของชาวกวย

san.jpg (11837 bytes)
ศาลปะกำ

สำหรับการเดินทางมาที่หมู่บ้านช้าง จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันถือว่าสามารถเดินทางมาได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะเป็นรถโดยสาร รถยนต์ส่วนตัว หรือแม้กระทั่งการเดินทางโดยเครื่องบินมาลงที่สนามบินสตึก แล้วบอกว่าไป "หมู่บ้านช้าง" รับรองว่าไม่มีใครพาไปหลงแน่.

นอกจากงานประเพณีงานช้าง ประเพณีงานบวชของชาวกวยแล้ว หมู่บ้านช้างยังมีการจัดการแสดงของช้างเป็นประจำทุกวันหยุดสุดสัปดาห์อีกด้วย ซึ่งเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะทำให้ช้างและคนไม่ต้องออกไปเร่ร่อน

อย่างไรก็ตาม การที่จะให้ชายกวยและช้างแห่งหมู่บ้านช้างสุรินทร์ มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนั้น ทุกฝ่ายจะต้องเร่งหาทางช่วยเหลือ โดยเฉพาะคนในจังหวัดสุรินทร์เอง ที่ไม่ค่อยมองเห็นความสำคัญของปัญหานี้เท่าไรนัก

หากปัญหาต่างๆ ที่ชาวสุรินทร์เองก็รับทราบดีอยู่แล้วไม่ได้รับการแก้ไขจากคนในพื้นที่ ปัญหาช้างเข้าเมืองก็ยังคงมีอยู่ต่อไป ตราบใดที่ทุกชีวิตยังต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของตัวเอง

...ไม่ว่าคนหรือสัตว์...


หน้า1

หน้า 2

หน้า 3

เรื่องของช้าง


"ไปดู...งานบวชที่หมู่บ้านช้างสุรินทร์"
ลงพิมพ์ครั้งแรกในสโมสรศิลปวัฒนธรรมหนังสือ " ศิลปวัฒนธรรม"
ปีที่  ๑๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือน ตุลาคม ๒๕๓๗ ปรับปรุงเพิ่มเติม ๓ มีนาคม ๒๕๔๓
เรื่องและภาพ : จักรพงษ์  เจือจันทร์

Homepage


œลงนามสมุดเยี่ยม : SignGuest book
created by.
กระดานดำออนไลน์
730/4 Tassabarn 7 Rd. Tambol.Ra-ngang
Sikhoraphum District, Surin Province.Thailand 32110

email : jakrapog@hotmail.com 
๒๔ เมษายน ๒๕๔๘