ศาสตราจารย์สำเภา
วรางกูร เป็นนักโสตทัศนศึกษาที่สำคัญคนหนึ่งของไทย
การที่ท่านเรียกตนเองว่า
"นักโสตทัศนศึกษา"
แทน "นักเทคโนโลยีการศึกษา"
ทั้งที่เป็นงานในแขนงเดียวกัน
เพราะท่านถือว่าได้
เริ่มต้นและบุกเบิกงานด้านนี้
ในขณะที่ลักษณะงานยังเป็น
"โสตทัศนศึกษา"
เท่านั้น
ประวัติส่วนตัว
ศาสตราจารย์สำเภา
วรางกูร
เกิดเมื่อวันที่ ๑๐
พฤศจิกายน ๒๔๖๒ ณ
อำเภอเมือง
จังหวัดนครราชสีมา
เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมในจังหวัดแล้ว
ได้ศึกษาต่อจนจบชั้นมัธยมตอนปลาย
(ม.๘) แผนก
วิทยาศาสตร์จากโรงเรียนปทุมคงคา
ในปี พ.ศ.๒๔๗๕
หลังจบการศึกษา
ได้เริ่มต้นประกอบอาชีพด้วยการเป็นครูโรงเรียนราษฎร์
จนกระทั่งสอบได้วิชาชุด
พป.
และ พม. ตามลำดับ
จากนั้นจึงสมัครเข้าเรียนเป็นนิสิตภายนอก
คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แต่ศึกษาอยู่ได้ไม่ถึงปีก็มีโอกาสสอบแข่งขันชิงทุนคุรุสภา
ได้ไปศึกษาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเซาเทอร์น
อิลินอย
จนได้รับปริญญาตรีทางด้านการศึกษา
สาขาฟิสิกส์
จากนั้นศึกษาต่อระดับปริญญาโททางโสตทัศนศึกษา
ณ
มหาวิทยาลัยอินเดียนา
และได้รับปริญญา
Master of Science in Education (Ms. in Ed.) ในปี พ.ศ.๒๔๙๘
หลังจากนั้นเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเซาเทอร์น
คาลิฟอร์เนียและได้รับปริญญา
Master of Education
(M.Ed.)
ซึ่งเป็นปริญญามหาบัณฑิตชั้นสูง
(Advance Master Degree) แต่เนื่องด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ
ทำให้ท่านต้องเลิกล้มการศึกษาระดับปริญญาเอก
ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่
ในปี พ.ศ.๒๕๐๐
ประวัติการทำงาน
เริ่มทำงานด้วยการเป็นครูโรงเรียนราษฎร์
และเมื่อสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ
ได้รับการโอนไปรับ
ราชการ ณ
คณะอักษรศาสตร์และครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วย
โสตทัศนศึกษากลาง
หัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์
หัวหน้าแผนกวิชาโสตทัศนศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงาน
เริ่มเผยแพร่แนวคิดใหม่ทางโสตทัศนศึกษา
โดยเปิดสอนเป็นวิชาพื้นฐานในคณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย
ตลอดจนอบรมวิชาโสตทัศนศึกษาให้กับครูประจำการของกระทรวงศึกษาธิการ
เป็นผลทำให้
งานทางด้านโสตทัศนศึกษาแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้
ท่านยังได้บุกเบิกตั้งแผนกวิชาโสตทัศนศึกษาขึ้นที่คณะครุศาสตร์
โดยเปิดสอนในระดับปริญญา
โทก่อน
และต่อมาจึงได้เปิดหลักสูตรในระดับปริญญาตรี
(ปีการศึกษา ๒๕๑๖)
งานที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งคือ
การจัดตั้งหน่วยโสตทัศนศึกษากลางของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ซึ่งหน่วยงานนี้
เป็นหน่วยงานที่ให้บริการทางด้านโสตทัศนศึกษาแก่คณาจารย์ต่างๆ
จัดได้ว่าเป็นหน่วยงานต้นแบบของศูนย์
โสตทัศนศึกษาหรือศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย
นอกเหนือจากวงการศึกษาแล้ว
ในด้านประชาสัมพันธ์
ท่านยังได้ริเริ่มนำวิทยาการใหม่ทางด้านโสตทัศน์
ศึกษาเข้าไปใช้อีกด้วย
อีกทั้งเป็นผู้มีส่วนร่วมในการจัดตั้งสถานีวิทยุจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากผลงานดังที่กล่าวมาแล้วของท่าน
ทำให้ได้รับเกียรติให้เป็นผู้หนึ่งที่ควรได้รับการยกย่องและอ้างถึง
ทางด้านโสตทัศนศึกษาในวารสาร
Who's Who in the World
ซึ่งได้นำประวัติการทำงานของท่านเผยแพร่
ต่อชาวโลก
โดยที่ศาสตราจารย์สำเภา
วรางกูร
ได้สั่งสอนและผลิตนักโสตทัศนศึกษาจำนวนมาก
นับได้ว่า
ท่านเป็นผู้ที่มีศิษยานุศิษย์มากกว่าผู้สอนคนใดในประวัติศาสตร์โสตทัศนศึกษาของไทย
และได้อุทิศชีวิตการ
งานด้านนี้อย่างดียิ่ง
สมควรที่จะได้รับการยกย่องเป็น
"บิดาแห่งโสตทัศนศึกษาของประเทศไทย"
***
อนึ่ง
ผมเคยได้รับทุนการศึกษา
"ศาสตราจารย์สำเภา
วรากูร"
เมื่อครั้งเป็นนิสิตปริญญาโทภาควิชา
โสตทัศนศึกษา
คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมื่อปีการศึกษา ๒๕๔๑
และถือเป็นแรงบันดาลใจ
ให้ผมได้ทุ่มเทและอุทิศทั้งสติปัญญา
แรงกายและทุนทรัพย์
เพื่อให้วิชาชีพโสตทัศนศึกษาได้เป็นที่ยอมรับ
ของวงการศึกษาอีกครั้งหนึ่ง
เอกสารอ้างอิง
:
เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา
"เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา"
หน่วยที่ ๙-๑๕
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,
๒๕๓๖ |