บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาลักษณะการออกแบบและการสร้างเว็บเพจของโรงเรียนในโครงการเครือข่าย
คอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย
2.
เพื่อนำผลการวิจัยที่ได้รับไปเป็นแนวทางในการออกแบบและสร้างเว็บเพจของโรงเรียนใน โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทยต่อไป
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
คือเว็บมาสเตอร์หรือผู้ดูแลเว็บของโรงเรียนที่เข้าร่วมในโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทยปี พ.ศ.2543 ทั้งหมด 227
โรงเรียน โดยผู้วิจัยได้เข้าไปชมเว็บไซต์ของทุกโรงเรียนและเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยถือเอาโรงเรียนที่มีอีเมล
(email) ระบุไว้ โดยคำนวณกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์กำหนดตัวอย่างของโครเช่และมอร์แกน (Krejcie
and Morgan, 1970 อ้างถึงใน บุญธรรม จิตต์อนันต์, 2540)
และจากการสูตรการประมาณกลุ่มตัวอย่างของยามาเน่(Yamane, 1967 อ้างถึงใน บุญมี พันธุ์ไทย และคณะ,2530; พวงรัตน์
ทวีรัตน์, 2540)
จากเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการเข้าไปดูเว็บไซต์
ได้กลุ่มตัวอย่างมา 110 เว็บไซต์ จากนั้นส่งแบบสอบถามผ่านอีเมลไปยังกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 3 ครั้ง
ได้รับแบบสอบถามกลับคืน 76 ฉบับ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
โดยให้ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ การวิจัย ดังนี้
1. สร้างแบบสอบถาม โดยแบ่งแบบสอบถามออกเป็น 4 ส่วน
คือ
ส่วนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2
ข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งค่าจอภาพในการทำงานและภาษาหรือชุดชอฟต์แวร์ที่ใช้ในการ สร้าง
เว็บเพจ
ส่วนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาและกลุ่มเป้าหมาย
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบเว็บเพจ
โดยมีขั้นตอนในการสร้างแบบสอบถาม ดังนี้
1. ศึกษาและรวบข้อมูลต่างๆ จากเอกสาร
ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2. นำความรู้ที่ได้มาออกแบบ
สร้างเป็นแบบสอบถามให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3.
นำแบบสอบถามที่สร้างเสร็จแล้วไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา
และผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจแก้ไข
4. นำแบบสอบถามกลับมาปรับปรุงแก้ไข
5. นำแบบสอบถามมาสร้างเป็นเว็บเพจแบบสอบถาม
เสร็จแล้วบรรจุขึ้น (Upload) ไปเก็บ
ไว้ในเครื่องบริการ (Server) ของผู้วิจัย
โดยระบุตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (URL) ดังนี้
http://www.kradandum.com/question01.htm
***
6. ส่ง URL
แบบสอบถามไปยังอาจารย์ที่ปรึกษาทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)
เพื่อตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไข
7. ปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามตามคำแนะนำ และส่ง URL
แบบสอบถามไปยังเว็บมาสเตอร์ของโรงเรียนในเครือข่าย SchoolNet
ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ทดลอง
ทำแบบสอบถาม
8.
นำแบบสอบถามที่ได้รับกลับมาทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ มาปรับปรุงแก้ไข
เพื่อใช้เป็นแบบสอบถามในการวิจัยต่อไป
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามไปยังเว็บมาสเตอร์ของโรงเรียนในกลุ่มตัวอย่างทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
โดยในแบบสอบถามนั้นมีหนังสือขออนุญาตในการทำแบบสอบถามเพื่อการวิจัยแนบไปพร้อมด้วย ซึ่งแบบสอบถามนี้
จะถูกส่งกลับมายังผู้วิจัยโดยอัตโนมัติทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เมื่อผู้ตอบแบบสอบถามทำเสร็จ
ข้อจำกัดของการวิจัย
เนื่องจากการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ
โดยส่งแบบสอบถามผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไปยังกลุ่มตัวอย่าง ดังนั้น
ข้อจำกัดในการวิจัยครั้งนี้คือหากกลุ่มตัวอย่างไม่ตอบแบบสอบถามกลับมาทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
อาจเนื่องมาจากปัญหาของระบบเครือข่าย จึงทำให้ได้แบบสอบถามกลับมาไม่ครบตามต้องการอย่างไรก็ตาม
ในการวิจัยครั้งนี้ได้แบบสอบถามกลับมาตามเกณฑ์การกำหนดกลุ่มตัวอย่างดังที่กล่าวแล้วในเรื่องประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามในการวิจัย มีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
1. การตอบแบบเลือกตอบ
1.1 ถ้าตอบในตัวเลือกนั้นให้คะแนนเท่ากับ 1
1.2 ไม่ตอบในตัวเลือกนั้นให้คะแนนเท่ากับ 0
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายด้วยการแจกแจงความถี่ (frequency)
และหาค่าร้อยละ
(percentage) ของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด
2. การตอบแบบเรียงลำดับ วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย
(Mean)และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
โดยมีเกณฑ์การแปรผล ดังนี้
ค่าเฉลี่ยสูงสุด หมายถึง
ถูกเลือกหรือได้รับเป็นลำดับที่ 1 และค่าเฉลี่ยรองลงมา หมายถึง
ถูกเลือกหรือได้รับเป็นลำดับถัดมา จนกระทั่งค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
หมายถึง ถูกเลือกหรือได้รับเป็นลำดับสุดท้าย
3. การวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ของตัวแปร
โดยการแจกแจงความถี่แบบ 2 ทาง และ
หาค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด
การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ใช้โปรแกรม
SPSS 9.01 for Windows โดยใช้สูตร
วิเคราะห์ตามเกณฑ์ของกัลยา วานิชย์บัญชา (2543)
|